หน้าแรก >> ของดีบ้านเฮา >> หมู่ที่ 4 บ้านสันป่าฝ้าย–หนองเป็ด

 หมู่ที่ 4 บ้านสันป่าฝ้าย–หนองเป็ด

  ปรับปรุงข้อมูล 19 ภุมภาพันธ์ 2563 โดย Administrator

หมู่ที่ 4 บ้านสันป่าฝ้าย–หนองเป็ด

ประวัติหมู่บ้านสันป่าฝ้าย

         บ้านสันป่าฝ้ายเดิมอยู่กับตำบลเวียงยองและได้แยกหมู่บ้านออกมา ในสมัย ก่อนมีการทำไร่ฝ้ายทำห้างในไร่ฝ้าย ชาวบ้านได้มารวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน อยู่กันด้วยความสามัคคี เอื้อเฟื้อเกื้อกลูต่อกัน ดำเนินชีวิตด้วยความขยันขันแข็ง ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เลี้ยงปศุสัตว์ เลี้ยงโค กระบือ มีวัดเป็นศูนย์กลางการศึกษา ชื่อบ้านสันป่าฝ้าย ได้มาจากชื่อของป่าฝ้ายที่ชาวบ้านได้ปลูก ผู้นำชุมชนผู้ใหญ่บ้านในอดีตมีหลายคน ในปัจจุบันคือ นายวีรกรณ์ ทองกลาง เป็นผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้านบ้านสันป่าฝ้าย

 

บ้านสันป่าฝ้าย

         ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองลำพูน อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอเมืองลำพูน เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร

         มีจำนวนประชากรทั้งหมด 786 คน เป็นชาย 374 คน หญิง 412 คน จำนวน หลังคาเรือน 1, 827 หลังคาเรือน

มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอข้างเคียง ดังนี้

         ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านมะเขือแจ้

         ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านขี้เหล็ก

         ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านสิงห์เคิ่ง

         ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านศรีบุญยืน

ลักษณะภูมิประเทศ

         สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านโดยทั่วไปจะเป็นพื้นที่พาณิชย์กรรม และอุตสาหกรรม

อาชีพ

         ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย เป็นอาชีพหลัก

สภาพทางสังคม

         ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ และปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีไทย มีวัด 1 แห่ง คือ วัดป่าม่วง (สันป่าฝ้าย) มีพื้นที่ในการทำอุตสาหกรรม 1,700 ไร่ ร้านค้า สถานที่ประกอบการ พาณิชยกรรม

การคมนาคมขนส่ง

         ถนนหลักของหมู่บ้าน คือ ถนนสายสันป่าฝ้าย-บ้านธิ ถนนภายในหมู่บ้านปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก

ประเพณีและวัฒนธรรม

         ภายในชุมชนมีการร่วมกันจัดทำประเพณีทางพุทธศาสนาต่างๆ เช่น แห่เทียนในวันเข้าพรรษา สงกรานต์ และประเพณีประจำปี สืบชะตาหลวง

การให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

         คือ มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคน้ำใช้เพื่อการเกษตร ที่ทิ้งขยะ อาคารเอนกประสงค์ มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ไฟฟ้า โทรศัพท์สาธารณะ ศูนย์ฝึกอาชีพ

หมู่ที่ 4 บ้านสันป่าฝ้าย

 

สถานที่สำคัญ

         วัดป่าม่วงสันป่าฝ้าย ก่อสร้างเมื่อปี 2534 เดิมเป็นวัดร้างชื่อ วัดป่าม่วง แต่เดิมราษฎรบ้านสันป่าฝ้าย ต้องเดินทาง ไปทำบุญหรือประกอบพิธีกรรมทางศาสนาต่างๆ ในวัดขี้เหล็ก ต่อมาปี 2534 นายประสิทธิ์ จันทกลาง และราษฎรในหมู่บ้านได้ร่วมกันก่อสร้างถาวรวัตถุ สำหรับใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาบนเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา และได้ตั้งชื่อว่า วัดป่าม่วง และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่าม่วงสันป่าฝ้าย ปัจจุบันมี พระครูสิริวชิโรวาส เป็นเจ้าอาวาส

         ถาวรวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ พระประธานวีรกิตติสิทธิ มณีศรีคณานสัย ขนาดหน้าตัก กว้าง 49 นื้ว สูง 71 นิ้วครึ่ง ภายในวัดมีวิหาร กุฏิ ศาลา โรงครัว

นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ

         นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองนโยบายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ซึ่งกำหนดให้มีการกระจายการพัฒนาเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาคต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2525-2529) ซึ่งเน้นให้มีการพัฒนาเมืองหลัก เมืองรอง ของภาคต่างๆ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จึงได้มีโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือขึ้นที่จังหวัดลำพูน เนื่องจากมีการเหมาะสมหลายประการ เช่น มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค แรงงาน วัตถุดิบทางการเกษตร ระบบสื่อสารและการคมนาคม จึงได้มีการพัฒนาพื้นที่ริมถนนทางหลวงหมายเลข 11 ช่วงกิโลเมตรที่ 69-70 (ลำปาง-เชียงใหม่) ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีเนื้อที่ประมาณ 1,788 ไร่ โดยเริ่มก่อสร้างและพัฒนาพื้นที่เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2526 และสร้างเสร็จในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528 โดยใช้เงินทุนทั้งสิ้น ประมาณ 358 ล้านบาท

การใช้พื้นที่

         พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 1,788 ไร่ ได้แบ่งการใช้พื้นที่ ดังนี้

         เขตอุตสาหกรรมส่งออก มีเนื้อที่ประมาณ 802 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 44.90 ของพื้นที่ทั้งหมด แยกเป็น

             - เขตอุตสาหกรรมส่งออกระยะที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 143 ไร่ เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2531

             - เขตอุตสาหกรรมส่งออกระยะที่ 2 เนื้อที่ประมาณ 375 ไร่ เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2533

             - เขตอุตสาหกรรมส่งออกระยะที่ 3 เนื้อที่ประมาณ 284 ไร่ เริ่มดำเนินการปี พ.ศ. 2533

         เขตอุตสาหกรรมทั่วไป

             มีเนื้อที่ประมาณ 351 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 19.65 ของพื้นที่ทั้งหมด

         เขตพาณิชยกรรม

             มีเนื้อที่ประมาณ 78 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.25 ของพื้นที่ทั้งหมด

เขตอุตสาหกรรม
เขตพาณิชยกรรม

 

โทรศัพท์ : 053-090711 ต่อ 555
โทรศัพท์ : 053-090711 ต่อ 109
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

สถิติผู้เข้าเว็บ
 วันนี้ 
303
 เมื่อวาน 
398
 เดือนนี้ 
13,223
 เดือนที่ผ่านมา 
16,399
 ปีนี้ 
55,657
 ปีที่ผ่านมา 
250,698
   ทั้งหมด 
1,039,117
 เริ่มบันทึกวันที่ 12/02/2561